Learning log 6
(บันทึกการเรียนครั้งที่6)
Friday 14 September 2018
Time 08:30 - 12:30 o'clock
การเขียนแผนในกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- The knowledge gained
อาจารย์ได้มอบหมายงานโดยให้ไปหาวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากนั้นอาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับวิจัยที่หามาว่าผ่านหรือไม่ วิจัยที่ทุกคนได้หามามีดังนี้
- การพัฒนารูปแบบการเรียนสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ( Development of teaching style based on learning concept from experience andThe cycle of searching for knowledge to strengthen the science of kindergarten children.)
- การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรูปแบบเด็กนกวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( YOUNG CHILDREN’S SCIENCE PROCESS SKILLS ON THE CHILD AS RESEARCHERS LEARNING TECHNIQUE )
- การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ( PRESCHOOL CHILDREN’S CRITICAL THINKING THOUGH SCIENCE ACTIVITIES )
- การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการตัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ( Reasoning thinking of preschool children thougn scientific basic skills.)
- ทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี ( Observasion and comparison skills of young children participated in dying creative art activities)
- ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ ( Basic Scientific Skilis Of Young Children Using Experimental Experience In Science)
- การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร ( The development of basic seience skills for young children using herbal drink activity )
- ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( The effect of sufficiency economy approach learning activites on young chicdren’s scientific basic skills.)
- การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม ( Development of basic science process skills of early childhood children by using the children as rescarchers and questioning techniques.)
- ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง ที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ( Theresults of the activities to enhance the experience of light. On the Skills of Early Childhood Learning.)
- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มี่ต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( The Effect of Natural Color Learning Avtivites on Young Children Scientific Basic Skills )
- ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ( Effects of science experiences by using the inquiry cycle on science process skills of kindergarteners.)
- รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครู ด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( THE PROFESSIONAL DEVELOPMENT MODEL FOR ENHANCING INSTRUCTIONAL COMPETENCY OF TEACHERS TO ENCOURAGE SCIENCE PROCESS SKILLS AND SCIENTIFIC MINDS OF EARLY CHILDHOOD )
การเขียนแผนในกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม
- ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน
- ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้วิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ
- ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ
- ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่อง อื่น ๆ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญา การแก้ปัญหาและการค้นคว้าหาความรู้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะ ดังนี้
- ทักษะการสังเกต ( Observing )
- ทักษะการวัด ( Measuring )
- ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
- ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา( Using Space/Relationship )
- ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )
- ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Comunication )
- ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )
- ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (English vocabulary)
1. วิจารณญาณ → judgment
2. วัฏจักร → cycle
3. เปรียบเทียบ → compare
4. เครื่องดื่มสมุนไพร → Herbal drinks
5. สมรรถภาพ → capacity
6. ความสงสัย → Doubt
7. การค้นคว้า → research
8. สถานการณ์ → situation
9. ประยุกต์ → applied
10. การย้อมสี → Dyeing
Our self : มาตรงตามเวลาเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มและตั้งใจเรียนดีมาก
Friend : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีมาก
Teacher : อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ได้อย่างละเอียดและชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น